วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559


ตำนานชาใต้ (ชาชัก)

                              ตำนาน เล่าขานกันว่า เกิดจากชายหนุ่มอิสลามชาวไทยที่เกิดอยู่ใกล้ตะเข็บชายแดน เขาใฝ่ฝันที่จะเป็นเจ้าของร้านน้ำชา อยากมีงานทำ จึงเดินทางข้ามไปหางานทำในประเทศมาเลเซีย ที่ร้านน้ำชาแห่งหนึ่ง ณ ที่นั้นเขาได้พบกับลูกสาวแสนสวยของเจ้าของร้านก็เกิดความรัก แต่ก็ถูกกีดกันโดยพ่อแม่ของสาวเจ้า พร้อมทั้งคำสบประมาทแถมท้ายว่า "รอให้ชักชาได้ไม่ขาดสาย และฟาดโรตีให้เหมือนผีเสื้อบิน เหมือนที่พ่อของหญิงคนรักทำได้เสียก่อนแล้วค่อยมาสู่ขอลูกสาว"
                             
                              ด้วยแรงรักและความมุมานะ ที่อยากจะลบคำสบประสาท ทำให้เขาเพียรพยายามฝึกฝน การชักชาและฟาดโรตีด้วยความเพียรพยายามจนกระทั่งในที่สุด ความพยายามของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จ จึงกลายเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่มีฝีมือในการชักชาได้สวยงามและไม่ขาดสาย ฟาดโรตีได้แผ่กว้างและบินว่อน เสมือนท่วงทำนองขยับปีก ของผีเสื้อที่สวยงามในที่สุดเขาก็สามารถชนะใจพ่อแม่ของสาวคนรักและได้ครองคู่อยู่กับเธออย่างมีความสุข และชายหนุ่มได้สัญญากับสาวคนรักในคืนนั้นว่า "พี่จะรักเธอให้เหมือนกับสายน้ำชา ซึ่งจะไม่มีวันขาดสาย" นี่คือที่มาของเครื่องดื่มชักกะเย่อ...ตำนานสายใยแห่งความรักค่ะ






อ่านต่อได้ที่ http://www.uasean.com/aroundasean/821









            จุดเด่นของรสชาติน้ำชาใต้  คือความหวานโดดเด่นผสมผสานกับความเข้มข้นและหอมมันของนมด้านบนจะมีฟองที่เกิดในขั้นตอนการชง รสสัมผัสนุ่มๆ คล้ายกับทานฟองนมบนกาแฟ แต่ฟองจากชาจะมีความหอมมันอยู่ด้วย ดื่มตอนร้อนๆหรือเย็นๆก็อร่อยไม่แพ้กัน ทั้งรสสัมผัส ความหอม และรสชาติเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเครื่องดื่มชนิดนี้เลย





อ่านต่อได้ที่ http://goohiw.com/teh-tarik-original-malaysia-milk-tea/





               "Teh Tarik" หรือ "เตฮ์ ตาเระ" สำเนียงเสียงถิ่นมลายู หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ  “ชาชัก”  เป็นกระบวนการชงชานมให้เกิดฟองโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี แต่มาจากสองแขนที่แข็งขัน สลับรับ-ส่งส่วนผสมในกระบอกชงให้ตรงจังหวะ ตามแรงโน้มถ่วงของโลกให้กลายเป็น ชา” (เตฮ์) ที่ถูก ชักกะเย่อ” (ตาเระ) ที่มีรสละมุนของฟองนมตามแบบฉบับการชงชาที่พบในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าประเทศใดเป็นต้นแบบในการชง "ชาชัก" แต่พบว่ามีร้านชาชักอยู่ทั่วไปทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และภาคใต้ของไทยค่ะ




อ่านต่อได้ที่  http://www.sawasdeemalaysia.com/






ผลงานนี้อนุญาตให้เผยแพร่ ดัดแปลง พัฒนา ต่อยอดผลงานและใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องบอกชื่อผู้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่จากงานชิ้นนี้ได้ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน